ตู้ MDB
- หน้าแรก
- บริการออกแบบและติดตั้ง
- ระบบไฟฟ้ากำลัง
- ตู้เมนไฟฟ้า (MDB)
ตู้ MDB Main Distribution Board
ตู้สวิทช์ประธาน (Main Distribution Board) เป็นแผงจ่ายไฟฟ้าขนาดใหญ่ โดยเป็นแผงแรกที่รับไฟจากการไฟฟ้าหรือด้านแรงต่ำ ของหม้อแปลงจําหน่าย แล้วจ่ายกำลังไฟฟ้าไปยังแผงย่อยตามส่วนต่าง ๆ ของอาคาร นิยมใช้ในอาคารขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ ไปจนถึงโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการใช้ไฟฟ้าจํานวนมาก ซึ่งที่เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายจะเรียกว่า ตู้ MDB หรือ สวิทช์บอร์ด และในบางประเทศก็จะเรียก Main Switchboard ในบทความนี้เราจะมาอธิบายถึง 4 วัตถุปรสงค์หลักๆของตู้ MDB รวมถึงอุปกรณ์หลักๆที่ใช้เพื่อตอบสนองวัตถุประสงค์หลักเหล่านั้น
วัตถุประสงค์ของตู้ MDB
1. แจกจ่ายกำลังไฟฟ้า (Power Distribution)
หน้าที่แรกของตู้ MDB คือการรับไฟจากการไฟฟ้าเข้ามาในอาคารโดยผ่านสวิทช์ขนาดใหญ่หรือบางครั้งจะอีกชื่อหนึ่งว่า สวิตซ์เกียร์ (Switchgear) ซึ่งปกติแล้วจะเป็นไฟฟ้าแรงดันต่ำที่มีขนาดแรงดันไฟฟ้า 400-416VAC, 50Hz 3 เฟส 4 สาย และนี้เป็นความแตกต่างระหว่างอาคารพาณิชย์ และโรงงานอุตสาหกรรม ทั้งนี้เซอร์กิตเบรกเกอร์หรือสวิทช์แยกวงจร เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สหรับการตัด-ต่อไฟฟ้า ที่เข้ามาในอาคาร ส่วนหน้าที่ที่ 2 คือการแจกจ่ายกระแสไฟฟ้าจากตู้ MDB ไปยังแผงสวิทช์หรือแผงไฟ (DB) ที่อยู่ในพื้นที่ต่างๆของอาตาร
2. ป้องกันระบบไฟฟ้า (Electrical Protection)
หากในกรณีที่ระบบการแจกจ่ายกำลังไฟฟ้ามีปัญหาหรือผิดปกติ ถ้าไม่มีระบบการป้องกันอาจจะทำให้อุปกรณ์ในไซต์งานเสียหายได้และถ้ามันรุ่นแรงมากพออาจทำให้อุปกรณ์ระเบิดได้ ทั้งนี้ยังก่อให้เกิดอันตรายกับช่างที่อยู่ในบริเวณนั้นอีกด้วย ซึ่งความผิดปกติของระบบไฟฟ้าที่อาจจะเกิดขึ้นเช่น ไฟฟ้าลัดวงจร (Short Circuit) , โหลดเกินหรือกระแสไฟฟ้าเกิน (Overload), แรงดันไฟฟ้าเกิน (Over Voltage) , แรงดันไฟฟ้าตก แรงดันไฟฟ้าสลับเฟส , ป้องกันเมื่อมีกระแสรั่วลงดิน , ป้องกันฟ้าผ่า (Surge Protection) เป็นต้น
3. แสดงสถานะการทำงาน (Monitoring)
เพาว์เวอร์ มิเตอร์ (Power meter) ใช้ในการแสดงค่าพารามิเตอร์และปริมาณพลังงานไฟฟ้าเช่น แรงดัน , กระแส , ความถี่ , กำลังงานไฟฟ้าจริง , กำลังงานไฟฟ้ารีแอคทีฟ และ Harmonic เป็นต้น เพื่อใช้ในการวัดคุณภาพของการใช้พลังงานเช่นเดียวกับการวัดการบันทึกปริมาณพลังงานที่ถูกใช้เพื่อวัตถุประสงค์ในประหยัดพลังงาน เพาว์เวอร์มิเตอร์สามารถแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ Analog Power Meter และ Digital Power Meter
4. ระบบไฟฟ้าสำรอง (Backup Power)
ระบบไฟฟ้าสำรองนั้นมีหลายรูปแบบและหลายระดับ ตั้งแต่การสตาร์ทเครื่องกำเนิดไฟฟ้า แบบ manual และการเปลี่ยนแหล่งจ่ายไฟไปเป็น UPS แบบอัตโนมัติเพื่อซัพพอร์ตวงจรที่จำเป็น ในขณะเดียวกันคอนโทรลเลอร์ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator Controller) สั้งสตาร์ทเครื่องกำเนิดไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ เมื่อกำลังไฟฟ้าพร้อมที่จ่าย ก็จะสั่งงาน ATS แบบอัตโนมัติ เพื่อมาใช้ไฟฟ้าสำรองจาก generator แทนการใช้งาน USP ทั้งนี้จะกลับไปใช้แหล่งจ่ายไฟฟ้าหลักเมื่อแหล่งจ่ายไฟหลักกลับสู่สภาพปกติ